เมนู

ประโยชน์.
ชื่อว่า ธรรม ด้วยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุให้
ข้ามกันดารคือภพได้ และให้ความแช่มชื่น.
ชื่อว่า สงฆ์ ด้วยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุทำสิ่งที่
ทำแม้น้อยให้ได้ผลไพบูล.
เพราะฉะนั้น พระรัตนตรัยจึงชื่อว่าเป็นสรณะโดยปริยายนี้.
จิตตุปบาทที่ดำเนินไปโดยอาการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า
มีกิเลสอันความเลื่อมใสและความเคารพในพระรัตนตรัยนั้นกำจัดแล้ว
ชื่อว่าสรณคมน์.
สัตว์ผู้มีพระรัตนตรัยนั้นพร้อมแล้ว ย่อมถึงสรณะ อธิบายว่า ย่อม
เข้าถึงอย่างนี้ว่า รัตนะ 3 เหล่านั้นเป็นที่พึ่งของเรา เหล่านี้เป็นที่นับถือ
ของเรา ดังนี้ ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว. พึงทราบ 3 อย่างนี้
คือ สรณะ 1 สรณคมน์ 1 และผู้เข้าถึงสรณะ 1 เท่านี้ก่อน.

ก็ในประเภทแห่งสรณคมน์ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


สรณคมน์มี 2 อย่าง คือ โลกุตตรสรณคมน์และโลกิยสรณคมน์.
ใน 2 อย่างนั้น โลกุตตรสรณคมน์ ว่าโดยอารมณ์มีนิพพานเป็นอารมณ์
ย่อมสำเร็จด้วยตัดขาดอุปกิเลสของสรณคมน์ ในมัคคขณะแห่งพระอริย-
บุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว ว่าโดยกิจย่อมสำเร็จในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น.
โลกิยสรณคมน์ ว่าโดยอารมณ์มีพระพุทธคุณเป็นต้นเป็นอารมณ์ ย่อมสำเร็จ
ด้วยการข่มอุปกิเลสของสรณคมน์ของปุถุชนทั้งหลาย. โลกิยสรณคมน์นั้น
ว่าโดยอรรถได้แก่การได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในวัตถุทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น และสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีศรัทธาเป็นมูล ที่ท่านเรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม
ในบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ.
โลกิยสรณคมน์นี้นั้น จำแนกเป็น 8 อย่าง คือ โดยมอบกายถวาย
ชีวิต 1 โดยมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า 1 โดยมอบตัวเป็นศิษย์ 1
โดยความนอบน้อม 1.
ใน 4 อย่างนั้น ที่ชื่อว่ามอบกายถวายชีวิต ได้แก่การสละตนแก่
พระพุทธเจ้าเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตน
แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์.
ที่ชื่อว่ามีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ได้แก่ความเป็นผู้มีพระ
รัตนตรัยเป็นเบื้องหน้าอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลาย
โปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีพระพุทธเจ้า มีพระธรรม และ
มีพระสงฆ์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
ที่ชื่อว่ามอบตัวเป็นศิษย์ ได้แก่เข้าถึงความเป็นศิษย์อย่างนี้ว่า ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายโปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็น
อันเตวาสิกของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม ของพระสงฆ์.
ที่ชื่อว่าความนอบน้อม ได้แก่การเคารพอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า
เป็นต้นอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ขอท่านทั้งหลายโปรดทรงจำ
ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะกระทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม
สามีจิกรรม แด่วัตถุทั้ง 3 มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเท่านั้น.
ก็เมื่อกระทำอาการ 4 อย่างนี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นอัน
ถือเอาสรณะแล้วโดยแท้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบกายถวายชีวิตแม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

สละตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า สละตนแด่พระธรรม แด่พระสงฆ์
ข้าพเจ้าสละชีวิต ข้าพเจ้าสละตนแน่นอน สละชีวิตแน่นอน ข้าพเจ้าถึง
พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นที่เร้นภัย
เป็นที่ป้องกันภัยของข้าพเจ้า.
การมอบตนเป็นศิษย์ พึงทราบเหมือนการถึงสรณะของพระมหา-
กัสสปะแม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าพึงเห็นพระศาสดาหนอ พึงเห็นพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
นั่นเทียว ข้าพเจ้าพึงเห็นพระสุคตหนอ พึงเห็นพระผู้มีพระภาค
เจ้า
นั่นเทียว ข้าพเจ้าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอ พึงเห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้า
นั่นเที่ยว.
ความมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า พึงทราบเหมือนการถึง
สรณะของอาฬวกยักษ์เป็นต้นอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้านั้นจักเที่ยวไปจากบ้าน นั้นสู่บ้านนี้ จากเมือง
นั้นสู่เมืองนี้ นมัสการพระสัมพุทธเจ้า และความ
เป็นธรรมที่ดีของพระธรรม.

ความนอบน้อม พึงทราบแม้อย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อ
พรหมายุ ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงที่พระยุคล
บาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศีรษะ ใช้ปากจุมพิตพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า และใช้มือทั้ง 2 นวดฟั้น พร้อมกับประกาศชื่อว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่พระ
โคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ดังนี้.
ก็การนอบน้อมนี้นั้น มี 4 อย่าง คือ เพราะเป็นญาติ 1 เพราะ
กลัว 1 เพราะเป็นอาจารย์ 1 และเพราะถือว่าเป็นทักขิไณยบุคคล 1

ใน 4 อย่างนั้น เพราะนอบน้อมว่าเป็นทักขิไณยบุคคล จัดเป็น
สรณคมน์ นอกนี้ไม่ใช่.
จริงอยู่ เพราะการนับถือพระรัตนตรัยอย่างประเสริฐนั่นแหละ
บุคคลย่อมถือสรณะได้ และขาดได้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่เป็นศากยะก็ตาม
โกลิยะก็ตาม ไหว้ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นญาติของเรา ดังนี้ ย่อมไม่
เป็นการถือสรณะเลย หรือผู้ใดไหว้ด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็น
ผู้ที่พระราชาทรงบูชา มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้ จะพึงทำแม้ความ
พินาศให้ ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย หรือผู้ใดระลึกถึงมนต์อะไร ๆ
ที่คนเรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในกาลเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ
ในกาลเป็นพระพุทธเจ้า เรียนอนุศาสนีเห็นปานนี้ว่า
บัณฑิตอยู่ครองเรือน พึงแบ่งทรัพย์เป็น 4 ส่วน พึง
ใช้สอยส่วน 1 พึงประกอบการงาน 2 ส่วน พึงเก็บ
ส่วนที่ 4 ไว้ เผื่อจักมีอันตราย ดังนี้แล้ว

ไหว้ด้วยคิดว่า อาจารย์ของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย. แต่ผู้
ใดไหว้ด้วยคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นทักขิไณยบุคคลเลิศในโลก ดังนี้ ผู้นั้นแหละ
ได้ถือสรณะแล้ว.
ก็เมื่ออุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถือสรณะอย่างนี้แล้ว ถึงไหว้ญาติแม้
บวชในอัญญเดียรถีย์ ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ ย่อมไม่ขาด
สรณคมน์ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงผู้ที่ไม่ได้บวช. ผู้ไหว้พระราชาโดยความ
กลัวก็เหมือนกัน เพราะพระราชานั้น เมื่อใครไม่ไหว้ จะพึงทำแม้ความ
พินาศให้ก็ได้ เพราะเป็นผู้ที่รัฐบูชาแล้ว ดังนี้. ถึงไหว้แม้เดียรถีย์ผู้สอน
ศิลปะคนใดคนหนึ่ง ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา ดังนี้ ก็ไม่ขาด

สรณคมน์. พึงทราบประเภทแห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในที่นี้ สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระ มีสามัญญผล 4 เป็นวิบากผล
มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงเป็นอานิสังสผล. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า
ส่วนผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระ
สงฆ์เป็นสรณะ ผู้นั้นเห็นอริยสัจ 4 ด้วยปัญญาอัน
ชอบ คือเห็นทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความล่วงพ้น
ทุกข์ และมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐ
อันเป็นทางถึงความดับทุกข์ สรณะนั้นของผู้นั้นเป็น
สรณะอันเกษม เป็นสรณะสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะ
นี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสังสผลแห่งสรณคมน์นี้ แม้โดยการที่
เขาไม่เข้าถึงภาวะมีนิจจสัญญาเป็นต้น. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ไม่เป็น
ฐานะ ไม่เป็นโอกาสที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ
โดยเป็นของเที่ยง ยึดถือสังขารอะไร ๆ ว่าเป็นสุข ยึดถือธรรมอะไร ๆ
ว่าเป็นตัวคน ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายพระ
ตถาคตทำให้ห้อพระโลหิต ทำลายสงฆ์ อุทิศศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่
จะมีได้.
ก็สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ มีภวสมบัติบ้าง โภคสมบัติบ้าง เป็นผล
แน่นอน. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ชน
เหล่านั้นจักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์แล้ว จักยัง
เทวกายให้บริบูรณ์ ดังนี้.

แม้ผลอย่างอื่นของสรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ ท่านก็กล่าวไว้ว่า ครั้ง
นั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาพร้อมด้วยเทวดา 8 หมื่น เข้าไปหาท่าน
พระมหาโมคคัลลานะ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้กะท้าว
สักกะจอมเทวดาผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่งว่า แน่ะจอมเทวดา การถึง
พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งดีแล แน่ะจอมเทวดา สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุที่
ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น ย่อมเทียบเท่าเทวดาเหล่า
อื่น โดยฐานะ 10 อย่าง คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์
อธิปไตยทิพย์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทิพย์ ดังนี้. ในพระธรรม
และพระสงฆ์ก็นัยนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลวิเศษแห่งสรณคมน์ แม้ด้วยอำนาจเวลาม-
สูตรเป็นต้น. พึงทราบผลแห่งสรณคมน์อย่างนี้.
ในสรณคมน์ทั้งโลกิยะและโลกุตตระเหล่านั้น สรณคมน์ที่เป็น
โลกิยะย่อมเศร้าหมองด้วยความไม่รู้ ความสงสัยและความเข้าใจผิดในพระ
รัตนตรัยเป็นต้น ไม่รุ่งเรื่องมากมายไปได้ ไม่แพร่หลายใหญ่โตไปได้.
สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง.
อนึ่ง สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะมี 2 ประเภท คือ ที่มีโทษ 1 ที่ไม่มี
โทษ 1.
ใน 2 อย่างนั้น ที่มีโทษ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเป็นต้นว่า มอบตนใน
ศาสดาอื่นเป็นต้น. สรณคมน์ที่มีโทษนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา. สรณคมน์
ที่ไม่มีโทษ ย่อมมีด้วยกาลกิริยา. สรณคมน์ที่ไม่มีโทษนั้น ไม่มีผล เพราะ
ไม่เป็นวิบาก. ส่วนสรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีการแตกเลย. เพราะพระ

อริยสาวกไม่อุทิศศาสดาอื่นแม้ในระหว่างภพ. พึงทราบความเศร้าหมอง
และการแตกแห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อุปาสกํ มํ ภนฺเต ภควา ธาเรตุ ความว่า ขอพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
โปรดทรงจำ คือทรงทราบข้าพระองค์ไว้อย่างนี้ว่า ข้าพระองค์
อชาตศัตรูนี้เป็นอุบาสก.
ก็เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีของอุบาสก ควรทราบข้อปกิณณกะ
ในที่นี้ดังนี้ว่า ใครเป็นอุบาสก เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า อุบาสก อะไร
คือศีลของอุบาสก อาชีพอย่างไร วิบัติอย่างไร สมบัติอย่างไร.
ในปกิณณกะนั้น ใครคืออุบาสก คือคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งที่ถึง
พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนมหานาม เพราะ
เหตุที่อุบาสกเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่
พึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าอุบาสก .
เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า อุบาสก ?
เพราะนั่งใกล้พระรัตนตรัย.
จริงอยู่ อุบาสกนั้น ชื่อว่าอุบาสก ด้วยอรรถว่า นั่งใกล้พระพุทธเจ้า
นั่งใกล้พระธรรมพระสงฆ์ก็เป็นอุบาสกเหมือนกัน.
อะไรคือศีลของอุบาสกนั้น ?
เวรมณี 5 ข้อ เป็นศีลของอุบาสก. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า
ดูก่อนมหานาม เพราะเหตุที่อุบาสกเป็นผู้งดเว้น จากปาณาติบาต จาก
อทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากน้ำเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนมหานาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

อาชีพอย่างไร ?
คือ ละการค้าขายผิดศีลธรรม 5 อย่าง เลี้ยงชีพโดยธรรมสม่ำเสมอ.
สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้
อุบาสกไม่ควรทำ 5 อย่างอะไรบ้าง ? การค้าขายศัสตรา การค้าขายสัตว์
การค้าขายเนื้อสัตว์ การค้าขายน้ำเมา การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้.
วิบัติอย่างไร ?
คือ ศีลวิบัติและอาชีววิบัติของอุบาสกนั้นแหละ เป็นวิบัติของ
อุบาสก.
อีกอย่างหนึ่ง อุบาสกนี้เป็นจัณฑาล เป็นมลทิน และเป็นผู้ที่น่า
รังเกียจด้วยกิริยาใด กิริยาแม้นั้น พึงทราบว่าเป็นวิบัติของอุบาสก. ก็วิบัติ
เหล่านั้น โดยอรรถได้แก่ธรรม 5 อย่างมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น.
เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม
5 อย่าง ย่อมเป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกมลทิน และเป็นอุบาสกที่
น่ารังเกียจ 5 อย่างอะไรบ้าง ? คือเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนทุศีล เป็น
ผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม และแสวงหาทักขิไณยบุคคลนอก
พระพุทธศาสนา ทำบุญในทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น ดังนี้ .
สมบัติอย่างไร ?
ศีลสมบัติและอาชีวสมบัติของอุบาสกนั้นนั่นแหละ เป็นสมบัติของ
อุบาสก ได้แก่ธรรม 5 ประการมีศรัทธาเป็นต้น ที่กระทำความเป็น
อุบาสกรัตนะเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสก
ผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นอุบาสกรัตนะ เป็นอุบาสกปทุม

และเป็นอุบาสกบุณฑริก 5 ประการอะไรบ้าง คือเป็นผู้มีศรัทธา เป็น
ผู้มีศีล ไม่เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ไม่แสวงหา
ทักขิไณยบุคคลนอกพระพุทธศาสนา และทำบุญในพระศาสนานี้ ดังนี้.
อคฺค ศัพท์ ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ ปรากฏในอรรถว่า เป็น
เบื้องต้น เบื้องปลาย ส่วน และประเสริฐที่สุด.
ปรากฏในอรรถว่า เป็นเบื้องต้น ในประโยคมีอาทิว่า อชฺชตคฺเค
สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวารํ นิคฺคณฺฐานํ นิคฺคณฺฐีนํ
แน่ะนาย
ประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะเปิดประตูต้อนรับนิครนถ์ชาย
หญิง.
ในอรรถว่า เบื้องปลาย ในประโยคมีอาทิว่า เตเนว องฺคุลคฺเคน
ตํ องฺคุลคฺคํ ปรามเสยฺย อุจฺฉคฺคํ เวฬคฺคํ
พึงเอาปลายนิ้วจดปลายนิ้ว
เอาปลายอ้อยจดปลายอ้อย เอาปลายไม้ไผ่จดปลายไม้ไผ่.
ในอรรถว่า ส่วน ในประโยคมีอาทิว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว
อมฺพิลคฺคํ วา มธุรคฺคํ วา ติตฺตกคิคํ วา วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน
วา ภาเชตุํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แบ่งส่วนรสเปรี้ยวก็ดี
ส่วนรสหวานก็ดี ส่วนรสขมก็ดี ตามส่วนวิหารหรือตามส่วนบริเวณ.
ในอรรถว่า ประเสริฐที่สุด ในประโยคมีอาทิว่า ยาวตา ภิกฺขเว
สตฺตา อปทา วา ฯ เปฯ ตถาคโต เตสํ อคฺคมกฺขายติ
ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สัตว์เหล่าใด ไม่มีเท้าก็ตาม ฯล ฯ ตถาคต เรากล่าวว่าประเสริฐ
ที่สุดของสัตว์เหล่านั้น.
แต่ในที่นี้ อคฺค ศัพท์นี้ พึงเห็นในอรรถว่า เป็นเบื้องต้น เพราะ
ฉะนั้น พึงทราบเนื้อควานในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ อย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้

เป็นต้นไป.
บทว่า อชฺชตํ แปลว่า เป็นในวันนี้ ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้
ก็มี อักษรทำบทสนธิเข้าไว้ ความว่า ทำวันนี้ให้เป็นต้น.
บทว่า ปาณุเปตํ ได้แก่เข้าถึงด้วยชีวิต.
พระเจ้าอชาตศัตรูถึงสรณะด้วยการมอบคนอย่างนี้ว่า ชีวิตของ
ข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ตราบใด ขอพระองค์โปรดทรงจำ คือทรงทราบ
ข้าพระองค์ไว้ตราบนั้นเถิดว่า เข้าถึงแล้ว ไม่มีผู้อื่นเป็นศาสดา ถึงสรณะ
เป็นด้วยสรณคมน์ทั้ง 3 เป็นอุบาสก เป็นกัปปิยการก (ศิษย์รับใช้) ด้วยว่า
แม้หากจะมีใครเอาดาบคมกริบตัดศีรษะของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็จะ
ไม่พึงกล่าวพระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่พึงกล่าวพระธรรมว่าไม่
ใช่พระธรรม ไม่พึงกล่าวพระสงฆ์ว่าไม่ใช่พระสงฆ์ ดังนี้ เมื่อประกาศ
ความผิดที่ตนทำ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อจฺจโย มํ ภนฺเต.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจโย แปลว่า ความผิด.
บทว่า มํ อจฺจคมา ความว่า ก้าวล่วง คือครอบงำข้าพระองค์
เป็นไป.
ในบทว่า ธมฺมิกํ ธมฺมราชานํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ชื่อว่า ธมฺมิกํ ด้วยอรรถว่า ประพฤติธรรม.
ชื่อว่า ธรรมราชา ด้วยอรรถว่า เป็นพระราชาโดยธรรมทีเดียว
มิใช่โดยอธรรมมีปิตุฆาตเป็นต้น.
บทว่า ชีวิตา โวโรเปสึ ได้แก่ปลงชีวิต.
บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ ได้แก่จงอดโทษ.
บทว่า อายตึ สํวราย ความว่า เพื่อสังวรในอนาคต คือเพื่อไม่

กระทำความผิดคือโทษ คือความพลังพลาดเห็นปานนี้อีก.
บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ส่วนเดียว.
บทว่า ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ ความว่า จงกระทำอย่างที่ธรรมจะ
ดำรงอยู่ได้ อธิบายว่า จงให้อดโทษเสีย.
บทว่า ตนฺเต มยํ ปฏิคฺคณฺหาม ความว่า ความผิดของมหาบพิตร
นั้น เราอดโทษให้.
บทว่า วุฑฺฒิ เหสา มหาราช อริยสฺส วินเย ความว่า มหา-
บพิตร นี้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะ คือในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
อย่างไร ?
คือการเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึง
ความสำรวมต่อไป. แต่เมื่อทรงทำเทศนาให้เป็นบุคคลาธิฏฐานตามสมควร
จึงตรัสว่า การที่บุคคลเห็นโทษ โดยเป็นโทษ แล้วสารภาพโทษ รับ
สังวรต่อไป นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยเจ้าแล.
บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้
แล้ว.
ศัพท์ว่า หนฺท ในคำว่า หนฺท จ ทานิ มยํ ภนฺเต นี้ เป็นนิบาต
ในอรรถว่า คำละเอียดอ่อน. ด้วยว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงทำคำ
ละเอียดอ่อนในการเสด็จไป จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า พหุกิจฺจา ได้แก่มีกิจมาก.
คำว่า พหุกรณียา เป็นไวพจน์ของคำว่า พหุกิจฺจา นั้นเอง.
บทว่า ยสฺสทานิ ตฺวํ ความว่า มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงสำคัญ

คือทราบเวลาที่เสด็จไปในบัดนี้เถิด อธิบายว่า พระองค์นั่นแหละจงทรง
ทราบเวลาที่เสด็จนั้น.
บทว่า ปทกฺขิณํ กตฺวา ปกฺกามิ ความว่า พระเจ้าอชาตศัตรูทรง
ทำประทักษิณ 3 ครั้ง ยออัญชลีที่รุ่งเรื่องด้วยทศนัขสโมธานไว้เหนือเศียร
ผินพระพักตร์ตรงพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถอยหลังชั่วทัศนวิสัยแล้ว
ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ณ ภาคพื้นตรงที่พ้นทัศนวิสัย แล้ว
เสด็จหลีกไป.
บทว่า ขตายํ ภิกฺขเว ราชา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระ
ราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว.
บทว่า อุปหตายํ ความว่า พระราชาพระองค์นี้ถูกขจัด เสียแล้ว.
มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว ถูก
ขจัดเสียแล้ว มีที่พึ่งถูกทำลายแล้ว คือตนเองถูกตนเองขุดเสียแล้วก็หมด
ที่พึ่ง.
บทว่า วิรชํ ได้แก่ปราศจากธุลีคือราคะเป็นต้น.
ชื่อว่า มีมลทินไปปราศแล้ว เพราะปราศจากมลทินคือราคะเป็นต้น
นั้นแล.
บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ได้แก่จักษุในธรรมทั้งหลาย หรือจักษุที่สำเร็จ
ด้วยธรรม.
คำว่า ธรรมจักษุ นี้ เป็นชื่อของมรรค 3 ในฐานะอื่น ๆ แต่ในที่นี้
เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคเท่านั้น.
มีอธิบายว่า หากพระเจ้าอชาตศัตรูมิได้ปลงพระชนม์พระบิดา
พระองค์ประทับนั่งบนอาสนะนี้แหละ จักได้ทรงบรรลุโสดาปัตติมรรคใน

บัดนี้ แต่เพราะทรงคบมิตรชั่ว จึงเกิดอันตรายแก่พระองค์ แม้เมื่อเป็น
เช่นนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูนี้เข้าเฝ้าพระตถาคต ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
เพราะฉะนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจะบังเกิดในโลหกุมภี ตกอยู่ในเบื้องต่ำ
3 หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องล่างแล้วผุดขึ้นเบื้องบน 3 หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องบน
อีกจึงจักพ้นได้ เหมือนใคร ๆ ฆ่าคนแล้ว พึงพ้นโทษได้ด้วยทัณฑกรรม
เพียงดอกไม้กำมือหนึ่งฉะนั้น เพราะพระศาสนาของเรามีคุณใหญ่.
ได้ยินว่า คำที่กล่าวมาแล้วแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว
ทีเดียว แต่มิได้ยกขึ้นไว้ในบาลี.
ถามว่า ก็พระราชาทรงสดับพระสูตรนี้แล้ว ทรงได้อานิสงส์
อะไร ?
แก้ว่า ได้อานิสงส์มาก.
ด้วยว่า ตั้งแต่เวลาที่ปลงพระชนม์พระชนกแล้ว พระราชานี้มิได้
บรรทมหลับเลยทั้งกลางคืนกลางวัน แต่ตั้งแต่เวลาที่เข้าเฝ้าพระศาสดา
ทรงสดับพระธรรมเทศนาอันไพเราะมีโอชานี้แล้ว ทรงบรรทมหลับได้
ได้ทรงกระทำสักการะใหญ่แด่พระรัตนตรัย ชื่อว่าผู้ที่ประกอบด้วยศรัทธา
ระดับปุถุชน ที่เสมอเหมือนพระราชานี้ไม่มี. ก็ในอนาคต จักเป็นพระ
ปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าชีวิตวิเสส จักปรินิพพานแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจชื่นชม
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
อรรถกถาสามัญญผลสูตร
ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี
จบแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

3. อัมพัฏฐสูตร


(141) ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป บรรลุถึงพราหมณคามแห่งชาวโกศล
ชื่ออิจฉานังคละ. ได้ยินว่า สมัยนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉา-
นังคลวัน
ในอิจฉานังคลคาม.
(142) ก็สมัยนั้นพราหมณ์โปกขรสาติอยู่ครองนครอุกกัฏฐะ
ซึ่งคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ด้วยน้ำ สมบูรณ์
ด้วยธัญญาหาร เป็นส่วนราชสมบัติ อันพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทาน
เป็นการปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย. พราหมณ์โปกขรสาติได้สดับ
ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จ
จาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500
รูป ถึงอิจฉานังคลคามโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน
ในอิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมพระองค์
นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ
องค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนก
พระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง